การท่องเที่ยวในประเทศไทย
การท่องเที่ยว
สาเหตุที่การท่องเที่ยวไทยได้รับการสนับสนุนมากขึ้นใน
พ.ศ. 2503
นั้น เพราะมีความมั่นคงทางการเมือง
และมีการพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ
ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการค้าปลีกขยายตัวอย่างรวดเร็ว
เพราะมีความต้องการจากนักท่องเที่ยว
และยังได้รับการส่งเสริมจากทหารอเมริกันที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงสงครามเวียดนามอีกด้วย พร้อมกันนั้นการท่องเที่ยวระหว่างประเทศก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากการดำรงชีวิตของผู้คนที่มีเวลาว่างมากขึ้น
และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สามารถเดินทางได้เร็วกว่า, ราคาถูกกว่า
และดีกว่า ด้วยโบอิง 747 ซึ่งให้บริการเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2513 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชียที่ได้รับผลประโยชน์จากกรณีนี้
จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่มีชาวต่างชาติ
336,000
ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายใน พ.ศ. 2510 กลายเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 14 ล้านคนใน พ.ศ. 2550
โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่อยู่ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2550 อยู่ที่ประมาณ 9.19 วัน
ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากถึง 547,782 ล้านบาท] ใน พ.ศ. 2550 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ไปท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับที่
18 ของโลก ด้วยจำนวน 14.5 ล้านคน
ขณะที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลก
โดยมีมากถึง 82 ล้านคนเลยทีเดียว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า 55% ของนักท่องเที่ยวใน พ.ศ. 2550 มาจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เป็นส่วนใหญ่ ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, เยอรมนี, สหรัฐอเมริกา และสแกนดิเนเวีย ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางและรัสเซียก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ประมาณ 55% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นผู้ที่กลับมาเพื่อเยี่ยมบ้านเกิด ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสต์ถึงปีใหม่ เมื่อนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกหนีสภาพหนาวเย็น
การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา
รายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 187,898 ล้านบาทใน พ.ศ. 2541
เป็น 380,417 ล้านบาทใน พ.ศ. 2550
นักท่องเที่ยวชาวเอเชียส่วนใหญ่จะท่องเที่ยวที่กรุงเทพมหานคร และโบราณสถาน,
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในปริมณฑล
ส่วนนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะไม่มาเพียงแค่กรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น
แต่จะเดินทางไปยังชายหาดและหมู่เกาะต่างๆทางภาคใต้
ส่วนภาคเหนือเป็นพื้นที่หลักในการเดินป่าและผจญภัยบนหมู่บ้านชาวเขา
รวมไปถึงป่าและภูเขาต่างๆ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสานเป็นภาคที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปน้อยที่สุด
นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้มีการจัดตั้งตำรวจท่องเที่ยว
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอีกด้วย
การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยกับประเทศต่าง
ๆ มีมากขึ้นตั้งแต่ลาว กัมพูชา และเวียดนาม เปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างประเทศขึ้นในช่วง พ.ศ. 2523 และ พ.ศ. 2533 สถานที่ท่องเที่ยวอย่างนครวัด เมืองหลวงพระบางและอ่าวหะล็อง สามารถแข่งขันกับประเทศไทยซึ่งเคยผูกขาดด้านการท่องเที่ยวในแถบอินโดจีน ทำให้ประเทศไทยต้องมีการกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ มากขึ้น เช่น
การตีกอล์ฟในวันหยุด
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแผนที่จะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคอีกด้วย จากข้อมูลของโลนลี่แพลเน็ต ประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ใน
"จุดหมายคุ้มค่าสุดสำหรับ พ.ศ. 2553" รองจากไอซ์แลนด์ ซึ่งได้รับกระทบอย่างหนักจากวิกฤตซับไพรม์ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการค้าประเวณียังมีเป็นจำนวนมาก
แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก็ตาม
โดยรัฐบาลไทยได้มีความพยายามที่จะติดตามและควบคุมปัญหาดังกล่าว
คาดว่ามีชาวต่างชาติประมาณ 20% จากการค้าประเวณีทั้งหมดในประเทศไทย
และในปัจจุบันยังมีการค้าประเวณีอย่างแพร่หลายในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เมืองพัทยา, ถนนพัฒน์พงศ์ และหาดป่าตอง
สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทย
สถิติโดยภาพรวมประจำปี
ปี (พ.ศ./ค.ศ.)
|
จำนวนนักท่องเที่ยว (คน)
|
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน (ร้อยละ)
|
2547/2004
|
11,650,703
|
ไม่มีข้อมูล
|
2548/2005
|
11,516,936
|
-1.15%
|
2549/2006
|
13,821,802
|
+20.01 %
|
2550/2007
|
14,464,228
|
+4.65 %
|
2551/2008
|
14,584,220
|
+0.83 %
|
2552/2009
|
14,149,841
|
-2.98 %
|
2553/2010
|
15,936,400
|
+12.63 %
|
2554/2011
|
19,230,470
|
+20.67 %
|
2555/2012
|
22,303,065
|
+15.98 %
|
2556/2013
|
26,735,583
|
+19.60 %
|
คำขวัญรณรงค์เที่ยวไทย
คำขวัญหลักในการรณรงค์ท่องเที่ยวประเทศไทยคือ "มหัศจรรย์ประเทศไทย" (Amazing
Thailand) ต่อมา พ.ศ. 2552 เกิดวิกฤตการณ์ด้านการท่องเที่ยวจึงมีการจัดโครงการ "มหัศจรรย์ประเทศไทย
มหัศจรรย์คุณค่า" (Amazing
Thailand, Amazing Value)
ท่องเที่ยวไทย
ท่องเที่ยวไทย (Unseen
In Thailand) เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ
โดยได้รับเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยคนไทย
เสน่ห์
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สุดประเทศหนึ่ง
โดยมีทั้งจุดดำน้ำ, หาดทราย, เกาะนับร้อย, สถานบันเทิงที่หลากหลาย,
โบราณสถาน, พิพิธภัณฑ์, หมู่บ้านชาวเขา,
สวนดอกไม้และจุดชมนกที่ยอดเยี่ยม, พระราชวัง,
วัดขนาดใหญ่ และมรดกโลกจำนวนมาก
มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ตามหลักสูตรระหว่างอยู่ในประเทศไทย
สิ่งที่นิยมได้แก่ชั้นเรียนการทำอาหารไทย, พระพุทธศาสนา และการนวดแผนไทย เทศกาลของไทยมีตั้งแต่เทศกาลที่สนุกกับการสาดน้ำอย่างสงกรานต์ ไปจนถึงประเพณีในตำนานอย่างลอยกระทง ท้องถิ่นจำนวนมากในประเทศไทยมีเทศกาลของพวกเขาเองเช่นกัน
ที่มีชื่อเสียงได้แก่ "การจัดงานแสดงช้าง"
ในจังหวัดสุรินทร์, "ประเพณีบุญบั้งไฟ" ในจังหวัดยโสธร เทศกาลน่าสงสัยอย่าง "ผีตาโขน" ในอำเภอด่านซ้าย
ทะเลแสนสวย และ อาหารแสนอร่อย นี่แหละ ประเทศไทย
อาหารไทยบางอย่างมีชื่อเสียงทั่วโลกด้วยการใช้สมุนไพรและเครื่องเทศสด จากส้มตำอร่อยไม่แพงที่ร้านริมถนนเรียบง่ายในชนบทถึงอาหารไทยในร้านอาหารชวนชิมของกรุงเทพฯ ยากมากที่จะไม่ได้กินดีในประเทศไทย
กรุงเทพมหานครมีชื่อเสียงจากห้างสรรพสินค้าหลักในบริเวณใจกลางเมือง ให้ความหลากหลายของสินค้ายี่ห้อท้องถิ่นและนานาชาติ ไปทางเหนือของเมืองมี"ตลาดนัดจตุจักร" ซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้าและใต้ดิน เป็นไปได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ใช้งานในบ้านไปจนถึงสัตว์ชนิดต่างๆ ตลาด "ประตูน้ำ" ใจกลางเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านผ้าและเสื้อผ้า นักท่องเที่ยวเน้นตลาดกลางคืนในถนนสีลมและบนถนนข้าวสารเป็นหลัก ซึ่งขายสินค้าเช่น เสื้อยืด, หัตถกรรม, นาฬิกาข้อมือและแว่นกันแดด ในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพมหานครสามารถหาตลาดน้ำยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงเช่นในดำเนินสะดวก "ตลาดถนนคนเดินวันอาทิตย์เย็น" จัดบนถนนราชดำเนินในเมืองเก่าเป็นไฮไลต์ของการช็อปปิ้งเมื่อไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ในภาคเหนือของประเทศไทย มันดึงดูดคนท้องถิ่นมากมายรวมทั้งชาวต่างประเทศ "ไนท์บาซาร์" ในเชียงใหม่เป็นตลาดที่นักท่องเที่ยวเน้นเช่นกัน ซึ่งขยายไปหลายช่วงของเมือง แค่ผ่านกำแพงเมืองเก่าไปตามแม่น้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น