วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เมืองไทย


น่ารู้ประเทศไทย



      ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
        ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างเส้นละติจูดที่ 5 องศา 37 ลิปดาเหนือ กับ 20 องศา 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างเส้นลองจิจูดที่ 97 องศา 22 ลิปดาตะวันออก กับ 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก มีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
       
       ภูมิอากาศ
       ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้ลักษณะภูมิอากาศแบบสะวันนา คือ มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งสลับกันชัดเจน ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกมีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน คือ ฝนตกเกือบตลอดปี

      จำนวนประชากร
       จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ 1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี 3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย 4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต 5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

      ขนาดพื้นที
      ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและสหภาพพม่า และทิศเหนือติดกับสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างเขตแดนเป็นบางช่วง

      เมืองหลวง
      กรุงเทพมหานคร หรือชื่อเต็มว่า “กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

     

      ประชากร

      จากหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ระบุว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากร 63,389,730 คน เป็นชาย 31,255,869 คน เป็นหญิง 32,133,861 คน โดยเป็นประชากรชาวไทยร้อยละ 75 ชาวไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 และเชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 11 ประชากรส่วนใหญ่มีรูปร่างสันทัด ผมและตาสีดำ ถือเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คนไทย: เดิมเราเคยเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต แต่ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น จนได้ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป คือ 1. คนไทยมาจากมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง บริเวณตอนกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน 2. คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ข้อสันนิษฐานนี้เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดเมื่อนับย้อนหลังไปอย่างน้อย 30 ปี 3. คนไทยมาจากบริเวณตอนใต้ของจีนและตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปจนถึงแคว้นอัสสัมในอินเดีย 4. คนไทยไม่ได้อพยพมาจากไหน ทว่าอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประเทศไทยในปัจจุบันมานานแล้ว ผู้เสนอแนวคิดนี้ยังกล่าวว่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยน่าจะเป็นพวกชวา-มลายู มากกว่าเป็นชนเชื้อสายมองโกลอย่างที่เคยเชื่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต 5. คนไทยมาจากบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซีย ซึ่งแนวคิดนี้ก็เชื่อว่าคนไทยไม่ได้เป็นชนเชื้อสายมองโกล ปัจจุบันนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าคนไทยมาจากไหน และแท้จริงแล้ว คนไทยสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนใด แต่ข้อสันนิษฐานที่ได้รับความนิยมที่สุด คือข้อ 2 และ 3 ขณะที่ข้อสันนิษฐานข้อที่ 4 ก็กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ

      ภาษา
      ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และมีการใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ข้องเกี่ยวกับต่างประเทศหรือชาวต่างชาติ เช่น บุคคลในราชการ บุคคลในวงการการศึกษา การท่องเที่ยว การพาณิชย์ และผู้ที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ แต่ในกลุ่มคนระดับท้องถิ่นทั่วไปมีอัตราการรู้ภาษาอังกฤษต่ำ สื่อสารภาษาอังกฤษได้น้อยถึงไม่ได้เลย

     

ศาสนา
      ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท รองลงมาคืออิสลาม คริสต์ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นับถือศาสนาและลัทธิอื่นๆ เช่น ซิกข์ ฮินดู เต๋า ขงจื้อ และยิว รวมทั้งชาวไทยภูเขาที่นับถือศาสนาแตกต่างกันไป



      
      การปกครอง
      ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศในปัจจุบัน

      อุณหภูมิ
      ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 18-34 องศา เซลเซียส

    เศรษฐกิจ
ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจหลักที่ทำราได้ให้กับประเทศ ในด้านเกษตรกรรม ข้าวถือเป็นผลผลิตที่สำคัญที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุกและก๊าซธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร พัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่











ที่มา:http://thai.tourismthailand.org/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น