โครงงานเรื่อง การทำภาพยนตร์สั้น
ที่มาของโครงงาน
การตัดต่อวิดีโอเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
เพราะนอกจากจะสามารถสร้างผลงานที่น่าสนใจออกมาเผยแผ่สู่สังคมออนไลน์ได้แล้ว
ยังสามารถเก็บเป็นผลงาน เก็บเป็นความทรงจำ และยังสามารถนำไปประกวดได้อีกด้วย
การตัดต่อวิดีโอเป็นการนำวิดีโอที่เราสนใจหรือวิดีโอที่เราจัดทำขึ้นมาเองมาตัดต่อเป็นเรื่องราวสื่อความหมายออกมาให้คนอื่นๆได้รับชม
และยังสามารถถ่ายทอดข้อคิดดีๆใก้แก่ผู้อื่นนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ กลุ่มของดิฉันจึงสนใจและเลือกที่จะทำโครงงานภาพยนตร์สั้นขึ้นและต้องการนำเสนอผลงานของกลุ่มดิฉันให้ผู้อื่นได้เห็น
จากการศึกษาเรื่องโปรแกรมการตัดต่อวิดีโอ
พบว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ สามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพ
สามารถสร้างเรื่องราวที่อยากจะนำเสนอให้แก่ผู้อื่นได้ หรือบางคนก็นำความสามารถของตนเองด้านโปรแกรมไปประกอบอาชีพ
สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง
ดังนั้นโครงงานเรื่องภาพยนตร์สั้นนี้จึงมีจุดมุ่งหมายโดยนำวิดีโอที่สมาชิกในกลุ่มจัดทำขึ้นมาเองมาตัดต่อนำเสนอเป็นเรื่องราว
เพื่อเป็นผลงานให้กับโรงเรียนเนื้อหาทั้งหมดเป็นสิ่งที่สมาชิกในกลุ่มร่วมกันจัดทำขึ้นเอง
เป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการใช้โปรแกรมและยังเป็นการต่อยอดความคิดให้กับเพื่อนๆในกลุ่มอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
-
อยากนำเสนอสื่อภาพยนตร์สั้น
ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยรักบ้านเกิด
-
สะท้อนให้เห็นความสวยงามของธรรมชาติในบ้านเกิดของเรา
สมมติฐานของการดำเนินการ
-
ขอบเขตของการดำเนินการ
ทำภาพยนตร์สั้น แนวอนุรักษ์บ้านเกิด ให้ผู้ชมเกิดสำนึกรักบ้านเกิด
เมื่อได้ชมสื่อของกลุ่มเรา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
-คู่มือการใช้โปรแกรม
Ulead Video Studio
Ulead สามารถที่จะจับภาพแบบ analog ไดเช่นกันในกรณีนี้คุณจะต้องหาการ์ดจับ
ภาพเช่นการ์ดรับโทรทัศน์ที่เป็นแบบ
analog
มาใช้งาน การใช้งานนั้นก็เหมือนกับการ firewire
1. Step Panel
กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ
ของการตัดต่อวิดีีโอเช่น ต้องการจับภาพจาก
กล้องวิดีีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไ้ข/ตัดต่อวิดีีโอคลิกปุ่ม
Edit ต้องการใส่ข้อความ
ในวีดีโอ คลิกปุ่ม Title เป็ นต้น
2. Menu Bar
แถบเมนูของชุดคาสั่งต่างๆ
เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการเป็นต้น
3. Options Panel
ส่วนนี้จะมีปุ่มและข้อมูลอื่นๆ
ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ฟังชันก์ต่างๆ ในส่วน
นี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่เช่น
คุณเลือกคลิปวิดีีโอกจ็ะมีฟังชันก์ต่างๆ
สำหรับจัดการกับคลิปวดีีโอ
หรือคุณเลือกเสียงก็จะมีฟังชันก์สำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็น
ต้น
4. Preview Window
หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบัน , ตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟกต์, หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของ
การตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้
5. Navigation Panel
มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวิดีีโอและสำหรับตัดวิดีีโอในขั้นตอนการจับภาพ,
ส่วนนี้จะทำหน้า้ที่
เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวิดีีโอเช่น
เล่นวิดีีโอ หยุด หยุด ชั่ว่ขณะกรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็ น
ต้น
6. Library
เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ไม่ว่าจะเป็น
วีดีโอ, เสียง, ภาพนิ่ง, เอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำ
ให้สะดวกในการเรียกใช้งาน
7. Timeline
แสดงคลิป,
ตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ
Step Panel
ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ
ในการตัดต่อวิดีีโอขั้นตอนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องทำ
ทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวิดีีโอของคุณเอง
ขั้นตอนตัดต่อคือ
1.Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูล
วิดีีโอจากแผ่น CD/DVD)
2.Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)
3.Effect (ใส่เอฟเฟ็กต)
4.Overlay (ทำภาพซ้อน)
5.Title (ใส่ตัวหนังสือ)
6.Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)
7.Share (บันทึกวิดีีโอที่ตัดต่อแล้ว
ลงสื่อต่างๆ)
ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้นสามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้เช่น
อาจจะไปใส่ดนตรี
ประกอบก่อน
แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้อก็อาจจะไป
เลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอนซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อ
วิดีีโออย่างไรและต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อขั้นตอนต่างๆ
ในการตัดต่อวีดีโอ
เมื่อเปิ
ด project ใน Ulead แลว้ ในขั้นตอน
Capture คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้อง
วีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้วิดีีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้นสามารถ
ที่ะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว
หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และใน
ขั้นตอนการจับภาพนี้นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็
น
ภาพนิ่งไดอีกด้วย
ขั้นตอนการแก้ไขและ
Timeline นี้เป็นจุดสำคัญของการใช้Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้
คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ
ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เ้รียงลำดับเหตุการณ์กันก็มาเรียงลำดับ
เหตุการณ์ในขั้น ตอนนี้หรือแทรกคลิปวดีีโออื่นๆ
เข้ามาในกระบวนการตัดต่อเช่น หลังจากที่
คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว
เห็นว่าคลิปวิดีีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกใน
บางช่วงของวดีีโอที่คุณกำลังตัดต่อก็สามารถทำ
ได้กรณีท่ีมีคลิปวิดีีโอเพียงไฟล์เดียวเช่น จับ
ภาพวีดีโอมาเป็ นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ
ส่วนก็สามารถตัดแยกscene
วีดีโอได้
เพื่อใส่เอฟเฟ็กต์ระหว่า ง scene ลบคลิปวิดีีโอที่ไม่ต้องการออก
ตัดคลิปวิดีีโอบางส่วนที่ถ่ายเสีย
หรือไม่ต้องการออกและการใส่วิดีีโอฟิลเตอร์(เช่น
การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวิดีีโอ ทำ
ให้คลิปวิดีีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ
)ก็ส ามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน
ในขั้นตอนนี้ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น
(transition) ระหว่างคลิปวิดีีโอใน project ซึ่งใน
Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ
ใหเลือกอย่างมากมายใน Library
ทรานสิชั่นเป็นเอฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป
ทำให้วีดีีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ
จางหายไปจนมืด
แลว้ก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือในระหว่างที่มีการเปลี่ยน
ฉากนั้นจะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉากเป็นต้น
เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง
ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวิดีีโอบนคลิปวิดีีโอที่มีอยู่เหมือนกับที่เราดูโทรทศัน์ที่มีการ
สัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดาราแล้วกมีกรอบเล็กๆ
เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึง
ตนเองอยู่ ใส่ตัวหนังสือในวิดีีโอเช่น
ชื่อเรื่องวิดีีโอแสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใคร
ถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน
เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมาย
หลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน
เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดู
ภาพยนตร์ตอนจบ
หรือจะวงจากด้า้นขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็
ได้
ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวิดีีโอ
สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็ น
ไฟล์ทำดนตรีประกอบได้
บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียง
ในวิดีีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป
เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจน
มากยิ่งขึ้น
หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็ นต้น
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายเมื่อตัดต่อวิดีีโอเสร็จแลว้
ก็จะเป็นสร้างไฟล์วิดีีโอสำหรับ
เผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ
เช่น สร้างไฟล์วิดีีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ
เขียนวิดีีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง
เขียนลงแผ่น CD
เป็น VCD หรือเขียนลง DVD
วิธีการดำเนินการ
1. การค้นคว้าหาข้อมูล
(research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว
จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน
และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล
ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ
(premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย
ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า…”
(what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด
เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค
คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก
คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค
คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก
คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ
&จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น
ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด
หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย
(treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย
(treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น
โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์
บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ
(premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ
บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting
script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ
ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น
บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ
ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting
script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน
บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay)
ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve)
การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect)
อื่น ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard)
คือ
บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของ
ช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ
เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น
ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า
เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt
Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก
โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด
เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ
ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง
และอาจมีเสียงประกอบด้วย
ผลการดำเนินการ
จากการที่กลุ่มของเราได้ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น
และได้วางแผนถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
จนงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
สรุปและอภิปรายผล
สรุป
หนังสั้น
คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ
แต่ได้ใจความ
การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไรการเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่าสิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
อภิปรายผล
จากการศึกษาการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น
ทางกลุ่มได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้น
สมารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นของกลุ่มเราได้เป็นอย่างดี
และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ภาพยนตร์สั้นแนวอนุรักษ์บ้านเกิดของกลุ่มเรา
จะช่วยปลูกจิตสำนึกให้คนไทยรักบ้านเกิดได้เป็นอย่างดี
ปัญหาอุปสรรคในการทำโครงงาน
-
ค่าใช้จ่ายระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น
เอกสารอ้างอิง
วิธีการทำหนังสั้น .[online]. เข้าถึงได้จาก:
http://gamonros.wordpress.com/2010/08/02/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%
วันที่ 4 เมษายน 2556.
เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้น .[online]. เข้าถึงได้จาก:
https://sites.google.com/site/khtpshortfilm/thekhnikh-kar-tha-hnang-san/thekhnikh-withi-k วันที่ 12 เมษายน 2556.
ธงชัย ธรรมเนียมดี.การเขียนบทภาพยนตร์สั้น .[online]. เข้าถึงได้จาก:
http://5207534-01.exteen.com/20100927/entry วันที่ 19
กันยายน 2556.
ข้อเสนอแนะ
- ศึกษาเรียนรู้
และพัฒนาการทำภาพยนตร์สั้นอย่างต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น